วันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2550


เมืองโบราณบ้านคูบัว อยู่ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศใต้ประมาณ 5 กิโลเมตร ตั้งอยู่ที่ตำบลคูบัว จากหลักฐานการขุดค้นพบปรากฏว่า ราชบุรีเป็นเมืองในสมัยทวารวดี ซึ่งทาง กรมศิลปากรได้ขุดค้นและศึกษาเรื่องเมืองโบราณที่คูบัว ได้พบหลักฐานทางโบราณคดีต่างๆ มากมาย เช่น เศียรพระพุทธรูปสมัยโบราณ ซึ่งหลักฐานต่างๆ เหล่านี้ได้ตั้งแสดงที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ราฃบุรี และมีบางส่วนเก็บรักษาไว้ที่วัดโขลง ตำบลคูบัว จากการศึกษาและค้นคว้าเมืองโบราณที่คูบัวนี้ ทำให้ทราบว่าได้รับอิทธิพลศิลปกรรมจากช่างสมัยราชวงศ์คุปตะ ประเทศอินเดีย และมีหลักฐานที่แสดงให้ทราบว่า พระพุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรืองในประเทศไทยมากกว่า 1,000 ปี มาแล้ว

ศูนย์สืบทอดศิลปะผ้าจก อยู่ในตำบลคูบัว เป็นศูนย์รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับศิลปะ ผ้าจกไท-ยวน เก็บตัวอย่างของผ้าจกที่มีลวดลายดั้งเดิม มีคอมพิวเตอร์สำหรับให้

จิตรกรรมฝาผนังที่วัดคงคาราม เป็นวัดของพวกมอญซึ่งได้สร้างขึ้นโดยพญามอญ มีอายุประมาณ 100 กว่าปี ตั้งอยู่ที่ตำบลคลองตาคต อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 22 กิโลเมตร แต่เดิมได้ชื่อว่า วัดกลาง หรือ เภี้ยโต้ และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เป็นผู้พระราชทานนามวัดนี้ว่า วัดคงคาราม ภายในอุโบสถมีพระประธาน แกนในทำด้วยศิลาแลงและปิดทอง ฐานชุกชีทำเป็นบัวคว่ำ บัวหงาย จิตรกรรมฝาผนังเป็นภาพละเอียดอ่อน ภาพที่ออกมาแต่ละภาพเหมือนถ่ายทอดจากต้นแบบที่มีชีวิตจริง ซึ่งได้เขียนขึ้นสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เป็นภาพพุทธประวัติตอนต่างๆ ที่หาชมยาก
ถ้ำค้างคาว เขาช่องพราน ตั้งอยู่ตำบลเตาปูน มีเขาช่องพรานตั้งอยู่เบื้องหลัง อยู่ห่างจากตัวอำเภอโพธารามไปทางทิศตะวันตกประมาณ 9 กิโลเมตร ถ้าจะมาจากตัวเมืองราชบุรีสามารถไปได้ โดยใช้เส้นทางเขางู-เบิกไพร ซึ่งห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 17 กิโลเมตร เขาช่องพรานมีถ้ำที่สวยงาม คือ ถ้ำพระนอน มีพระพุทธรูปภายในถ้ำมากกว่าร้อยองค์และภายในถ้ำมีพระพุทธรูปปางไสยาสน์องค์ใหญ่ มีความยาวถึง 9 เมตรเศษ สูง 1 เมตรเศษ มีพระพุทธบาทจำลอง นอกจากนั้นยังมีถ้ำค้างคาว ภายในถ้ำมีค้างคาวอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ทุกวันในยามใกล้พลบค่ำ ตั้งแต่เวลา 17.30 น. เป็นต้นไป จะมีฝูงค้างคาวจำนวนมากบินออกจากถ้ำดูคล้ายกับควันที่ลอยออกมาจากปล่องไฟและจะบินกลับเข้าถ้ำในเวลาเช้า

หัตถกรรมพื้นบ้าน
นายพิเชียร เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งศูนหัตถกรรมท้องถิ่นพื้นบ้านแบบใหม่ของประเทศไทย ผลิตตุ๊กตาผ้าทุกประเภทออกจำหน่าย เป็นผู้ริเริ่มตุ๊กตาผ้าราชบุรี ปัจจุบันพิเชียรแก้วเป็นศูนย์วัสดุอุปกรณ์การผลิตตุ๊กตาผ้าทุกประเภท ศูนย์การผลิตตุ๊กตา ศูนย์กลางให้ความรู้ด้านการผลิต และเป็นศูนย์กลางด้านการตลาด รวมทั้งเป็นศูนย์รวมของหมู่บ้านตุ๊กตาของบ้านกำแพง ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอโพธาราม
เกียรติคุณและรางวัล พ.ศ. ๒๕๓๕ นายพิเชียร ได้รับรางวัลบุคคลดีเด่นเกี่ยวกับการบริหารธุรกิจ จากหนังสือพิมพ์เดลิมิลเลอร์ พ.ศ. ๒๕๓๗ ได้รับรางวัล ผู้นำอาชีพก้าวหน้า ของกระทรวงมหาดไทย ปัจจุบันศูนย์พิเชียรแก้วมีระบบการผลิตและการจำหน่ายที่พัฒนาตลอดเวลาทำให้ตำบลบ้านสิงห์เป็นที่รู้จักกันทั่วประเทศ มีรายการโทรทัศน์หลายรายการมาถ่ายทำและนำแพร่ภาพออกอากาศไปทั่วประเทศ นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานและบุคคลสำคัญมาเยี่ยมชมกิจการตลอดเวลา

วันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2550

ภูมิปัญญาท้องถิ่น จังหวัดราชบุรี

การทำระนาด
ประวัติ นายแก้ว อินทร์คำ อายุ 86 ปี ปัจจุบัน ข้าราชการบำนาญ , ทำระนาดขาย และเล่นดนตรีไทยหลายชนิดอดีต รับราชการกรมราชทัณฑ์ เล่นดนตรีไทยตั้งแต่สมัยหนุ่ม และสามารถทำเครื่องดนตรีไทยคือระนาด สามารถตั้งเครื่องดนตรีไทยได้หลายชนิด เมื่อเกษียณราชการ ก็รับสอนดนตรีไทยตามโรงเรียนต่าง ๆ ในจังหวัดราชบุรี รักการเล่นดนตรีไทยเป็นชีวิตจิตใจ ปัจจุบันยังเล่นดนตรีไทย ซ่อมและทำระนาดขายอยู่ ปัจจุบันอยู่อำเภอเมืองราชบุรีกับลูกหลาน และลูกศิษย์
การทำระนาด ส่วนประกอบสำคัญของระนาด คือ ลูกระนาด ซึ่งเป็นตัวกำเนิดเสียงสล่าเชียงใหม่นิยมใช้ไม้ชิงชัน หรือ "ไม้เกล็ด"ทำลูกระนาดทุ้ม เริ่มจากการเลื่อยไม้ออกให้ได้ขนาดตามที่ต้องการแล้วคว้านด้านล่างให้เป็นแอ่งไปตามยาว จากนั้นจึงแต่งให้ด้านบนนูนและเรียบ เจาะรู้ร้อยเชือกแขวน ตีฟังเสียงไป คว้านไปจนได้เสียงตามที่ต้องการ ระนาดรางหนึ่งๆจะมีลูกระนาด 21-22 ลูกส่วนระนาดทุ้มมี 18ลูกไม้ตีระนาดมีสองลักษณะ คือ ไม้แข็งหรือไม้นวม ไม้แข็ง ใช้ด้ายพนันุ้มหัวไม้ ส่วนไม้นวมนั้นมีผ้าหนาทำนวมหุ้มอีกชั้นรางระนาดนิยมทำด้วยไม้เนื้ออ่อนกว่าไม้ลูกระนาด เช่น ไม้กะบาก เป็นต้น เพื่อความสวยงาม สล่าจะแกะสลักลวดลายประดับด้วยราคาระนาดเอกและระนาดทุ้ม ในปัจจุปันนี้มีตั้งแต่ประมาณรางละ 2000บาทขึ้นไป

โครงการพระราชดำริ

การพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกหรือการชลประทาน นับว่าเป็นงานที่มีความสำคัญและมีประโยชน์อย่างสำหรับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ในการช่วยให้เกษตรกรทำการเพาะปลูกได้อย่างสมบูรณ์ตลอดปี ในปัจจุบันพื้นที่การเพาะปลูกนอกเขตชลประทาน ซึ่งต้องอาศัยเพียงน้ำฝนและน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติเป็นหลัก ทำให้พืชได้รับน้ำไม่สม่ำเสมอตามที่พืชต้องการ อีกทั้งความผันแปรเนื่องจากฝนตกไม่พอเหมาะกับความต้องการ เป็นผลให้ผลผลิตที่ได้รับไม่ดีเท่าที่ควร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสนพระราชหฤทัยเกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งน้ำมากกว่าโครงการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริประเภทอื่น ทรงให้ความสำคัญในลักษณะ “น้ำคือชีวิต” ดังพระราชดำรัส ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๒๙ ความตอนหนึ่งว่า
“...หลักสำคัญว่าต้องมีน้ำบริโภค น้ำใช้ น้ำเพื่อการเพาะปลูก เพราว่าชีวิตอยู่ที่นั่น ถ้ามีน้ำคนอยู่ได้ ถ้าไม่มีน้ำ คนอยู่ไม่ได้ ไม่มีไฟฟ้าคนอยู่ไม่ได้ แต่ถ้ามีไฟฟ้าไม่มีน้ำคนอยู่ไม่ได้...”

โครงการแก้มลิง
“...เมื่ออายุ ๕ ขวบ มีลิงเอากล้วยไปให้มันเคี้ยว เคี้ยว แล้วใส่ในแก้มลิง ตกลง “โครงการแก้มลิง” นี้มีที่เกิด เมื่อเราอายุ ๕ ขวบ ก็นี่เป็นเวลา ๖๓ ปี มาแล้ว ลิงสมัยโน้นลิงโบราณเขาก็มีแก้มลิงแล้ว เขาเคี้ยว แล้วเอาเข้าไปเก็บในแก้ม น้ำท่วมลงมา ถ้าไม่ทำ “โครงการแก้มลิง” เพื่อที่จะเอาน้ำนี้ไปเก็บไว้...” พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
โครงการแก้มลิงเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลโดยการขุดลอกคลองชายฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาให้เป็นคลองพักน้ำขนาดใหญ่หรือ “แก้มลิง” แล้วระบายน้ำออกสู่ทะเลโดยใช้หลักทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของโลก หรือน้ำขึ้นน้ำลงตามธรรมชาติ ซึ่งปัจจุบันโครงการแก้มลิงยังได้ขยายการดำเนินงานไปที่โครงการบรรเทาอุทกภัยตามพระราชดำริ (แก้มลิงหนองใหญ่) จังหวัดชุมพร และโครงการบรรเทาอุทกภัยพื้นที่ลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอีกด้วย

เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
“...เขื่อนป่าสัก ที่ตอนแรกวางแผนให้จุได้ ๑,๓๕๐ ล้านลูกบาศก์เมตร แต่แก้ไปแก้มาก็เหลือ ๗๕๐ ล้านกว่าๆ ตามตัวเลขที่ให้ไว้นี้ แม้เขื่อนป่าสักเขื่อนเดียว ก็พอ พอสำหรับการบริโภคแน่นอนไม่แห้ง...”
เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ สร้างขึ้นเพื่อให้มีน้ำไว้ใช้ในการเกษตรในฤดูแล้ง และเป็นการป้องกันบรรเทาน้ำท่วมบริเวณลุ่มน้ำป่าสัก และลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างในฤดูน้ำหลากและบรรเทาปัญหาน้ำเน่าเสียในกรุงเทพมหานคร และเมืองใหญ่ในภาคกลาง อีกทั้งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาและสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งด้วย

โครงการเขื่อนคลองท่าด่านอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนครนายก
“โครงการนี้คือสร้างอ่างเก็บน้ำ ๒ แห่ง แห่งหนึ่งคือที่แม่น้ำป่าสัก อีกแห่งหนึ่งที่แม่น้ำนครนายก สองแห่งรวมกันจะเก็บกักน้ำเหมาะสมพอเพียง สำหรับการบริโภค การใช้ในเขตกรุงเทพฯ และเขตใกล้เคียงที่ราบลุ่มของประเทศไทยนี้...”
“โครงการนี้เป็นโครงการที่อยู่ในวิสัยที่จะทำได้แม้จะต้องเสียค่าใช้จ่ายไม่ใช่น้อย แต่ถ้าดำเนินการไปเดี๋ยวนี้อีก ๕-๖ ข้างหน้า เราสบายและถ้าไม่ทำอีก ๕-๖ ปีข้างหน้า ราคาค่าก่อสร้าง ค่าดำเนินการก็จะสูงขึ้น ๒ เท่า ๓ เท่า ลงท้ายก็จะประวิงต่อไป และเมื่อประวิงต่อไป ก็จะไม่ได้ทำ เราก็จะต้องอดน้ำแน่จะกลายเป็นทะเลทรายแล้วก็จะอพยพไปที่ไหนก็ไม่ได้...”
โครงการเขื่อนคลองท่าด่านอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นการช่วยเหลือและบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนจากอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำนครนายก ซึ่งเกิดขึ้นเป็นประจำ รวมทั้งเพื่อช่วยเหลือราษฎรให้มีน้ำใช้ในการเกษตร การอุปโภคบริโภคโดยไม่ขาดแคลน ที่สำคัญเพื่อแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยวที่เป็นอุปสรรคสำคัญในการเพาะปลูกอีกด้วย

ด้านการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรดิน

ในช่วยระยะเวลาเกือบ ๓๐ ปีที่ผ่านมา การเพิ่มผลผลิตและรายได้ของประเทศมาจากการขยายพื้นที่การเพาะปลูกมากกว่าการเพิ่มผลผลิตต่อหน่วยพื้นที่จนถึงขณะนี้ประมาณได้ว่าพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการเกษตรกรรมได้ใช้ไปจนเกือบหมด และพยายามหาพื้นที่ชดเชยด้วยการอพยพโยกย้ายเข้าไปอยู่กระจัดกระจายในเขตป่าสงวนแห่งชาติ พื้นที่ป่าไม้ถูกทำลายเพิ่มจำนวนมากขึ้น เพราะการใช้ที่ดินกันอย่างขาดความระมัดระวังและไม่มีการบำรุงรักษาซึ่งทำให้เกิดความเสื่อมโทรม ปัญหาเหล่านี้หากไม่รีบแก้ไขย่อมส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศเป็นอย่างมาก
สำหรับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำรินั้น คำนึงถึงการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด ปรับปรุงทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมโทรมให้ได้ใช้ประโยชน์ ดังเช่น โครงการแกล้งดิน ที่ได้ดำเนินการในศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส ได้พระราชทานแนวพระราชดำรัสไว้ดังนี้
“..ให้มีการทดลองทำดินให้เปรี้ยวจัด โดยการระบายน้ำให้แห้งและศึกษาวิธีแก้ดินเปรี้ยว เพื่อนำผลไปแก้ปัญหาดินเปรี้ยวให้แก่ราษฎรที่มีปัญหาในเรื่องนี้ในเขตจังหวัดนราธิวาส โดยให้ทำโครงการศึกษาทดลองในกำหนด ๒ ปี และพืชทำการทดลองควรเป็นข้าว...”
“...ที่ที่น้ำท่วมที่หาประโยชน์ไม่ได้ ถ้าเราจะทำให้มันโผล่พ้นน้ำขึ้นมา มีการระบายน้ำออกไปก็จะเกิดประโยชน์พ้นน้ำขึ้นมา มีการระบายน้ำออกไปก็จะเกิดประโยชน์กับประชาชนในเรื่องการทำมาหากินอย่างมหาศาล...”
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาในเรื่องดินทั้งในแง่ของการแก้ไขปัญหาดินที่เสื่อมโทรม ขาดคุณภาพและการขาดแคลนที่ดินทำกินสำหรับการเกษตร ดังนี้
๑.๑ สนับสนุนให้เกษตรกรเรียนรู้เข้าใจวิธีการอนุรักษ์ดินและน้ำ การปรับปรุงบำรุงดินและสามารถนำไปปฏิบัติได้เอง ดังพระราชดำรัสความว่า
“...การปรับปรุงที่ดินนั้น ต้องอนุรักษ์ผิวดินซึ่งมีความสมบูรณ์ไว้ไม่ให้ไถหรือลอกหน้าดินทิ้งไปสงวนไม้ยืนต้นที่ยังเหลืออยู่เพื่อที่จะรักษาความชุ่มชื้นของผืนดิน...”
ดังนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงพระราชทานพระราชดำริให้จัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริขึ้นเพื่อทำการศึกษา ค้นคว้าเกี่ยวกับการสร้างระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ เป็นตัวอย่างในการป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน การขยายพันธุ์พืชเพื่ออนุรักษ์ดินและบำรุงดิน รวมถึงศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่มีวัตถุประสงค์หลักในการศึกษาและพัฒนาพื้นที่พรุ ซึ่งเป็นดินเปรี้ยวให้เป็นดินที่มีคุณภาพ สามารถทำการเพาะปลูกได้ ตลอดจนการทำแปลงสาธิตการพัฒนาที่ดินแก่เกษตรกร ในบางพื้นที่ที่มีปัญหาในการพัฒนาปรับปรุงดินเสื่อมโทรมด้วยสาเหตุต่าง ๆ เช่น ดินเปรี้ยว ดินเค็ม ดินทราย ดินดาน ฯลฯ ทั้งนี้ เพื่อให้พื้นที่ที่มีปัญหาเรื่องดินทั้งหลาย สามารถใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้
นอกจากนั้นเมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๓๔ ได้พระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับหญ้าแฝกเป็นครั้งแรกกับ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการ กปร. ในขณะนั้นว่า ให้ทำการศึกษาทดลองปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน และอนุรักษ์ความชุ่มชื้นไว้ในดิน เพราะขั้นตอนการดำเนินงานเป็นวิธีการแบบง่าย ๆ ประหยัด และที่สำคัญคือเกษตรกรสามารถดำเนินการเองได้ โดยไม่ต้องให้การดูแลภายหลังการปลูกมากนัก และได้พระราชทานพระราชดำริอีกกว่า ๒๐ ครั้ง เกี่ยวกับการนำหญ้าแฝกมาใช้ประโยชน์ในลักษณะต่าง ๆ ดังเช่น เมื่อวัน ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๔๐ ได้พระราชทานพระบรมราโชวาทแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีส่วนเกี่ยวข้องกับหญ้าแฝกตอนหนึ่งว่า
“...ปลูกหญ้าแฝกจะต้องปลูกให้ชิดติดกันเป็นแผงและวางแนวให้เหมาะสมกับลักษณะภูมิประเทศเป็นต้นว่าบนพื้นที่สูงจะต้องปลูกตามแนวขวางของความลาดชันของร่องน้ำ บนพื้นที่ราบจะต้องปลูกรอบแปลงหรือปลูกตามร่องสลับกับพืชไร่ ในพื้นที่เก็บกักน้ำจะต้องปลูกเป็นแนวเหนือแหล่งน้ำ หญ้าแฝกมีหลักวิธีดังนี้ จะช่วยการป้องกันการพังทลายของหน้าดิน รักษาความชุ่มชื้นในดิน เก็บกักตะกอนดินและสารพิษต่าง ๆ ไม่ให้ไหลลงในน้ำ ซึ่งจะอำนวยผลประโยชน์อย่างยิ่งแก่การอนุรักษ์ดินและน้ำ ตลอดจนการฟื้นฟูดินและป่าไม้ให้สมบูรณ์ขึ้น...”
การดำเนินโครงการต่าง ๆ ดังกล่าวนี้ ทรงเน้นอยู่เสมอว่ากระบวนการพัฒนาที่ดินทั้งหมดนี้จะต้องชี้แจงให้ราษฎรซึ่งเป็นผู้ได้รับประโยชน์มีส่วนร่วมและลงมือลงแรงด้วย
๑.๒ การจัดสรรและปฏิรูปที่ดิน พัฒนาที่ดินว่างเปล่าแล้วจัดสรรให้เก่เกษตรกรที่ไร้ที่ทำกินได้ประกอบอาชีพในรูปของหมู่บ้านสหกรณ์ทั้งนี้โดยให้สิทธิทำกินแต่ไม่ให้กรรมสิทธิ์ในการถือครอง พร้อมกับจัดบริการพื้นฐานให้ตามความเหมาะสม นอกจากนี้ยังมีการจัดพื้นที่ทำกินให้ราษฎรชาวไทยภูเขาให้สามารถดำรงชีพอยู่ได้เป็นหลักแหล่งโดยไม่ต้องทำลายป่าอีกต่อไปี้
ในการจัดพื้นที่ต่าง ๆ ดังกล่าวนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีหลักการว่า ต้องวางแผนการจัดให้ดีเสียตั้งแต่ต้น โดยใช้แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศช่วยการจัดสรรพื้นที่ทำกินควรจัดสรรตามแนวพื้นที่รับน้ำจากโครงการชลประทานเป็นหลักปัญหาการขาดแคชนที่ดินทำกินของเกษตรกรเป็นปัญหาสำคัญยิ่งในปัจจุบัน ด้วยพระอัจฉริยะในการแก้ปัญหาจึงได้พระราชทานแนวพระราชดำริ เกี่ยวกับการทำการเกษตร “ทฤษฎีใหม่” ดังพระราชดำรัสตอนหนึ่งว่า
“...ทฤษฎีใหม่...เป็นวิธีการอย่างหนึ่งที่จะทำให้ประชาชนมีกินแบบตามอัตภาพ คืออาจไม่รวยมากแต่ก็พอกินไม่อดอยาก...” เป็นการพัฒนาพื้นที่ทำกินที่มีขนาดเล็ก ด้วยการจัดสรรที่ดินให้เหมาะสมกับการทำการเกษตรแบบผสมผสานอย่างได้ผล ทฤษฎีใหม่ เป็นการบริหารจัดการที่ดินและแหล่งน้ำเพื่อพัฒนาการเกษตรให้เกิดประโยชน์สูงสุดและสามารถเลี้ยงตัวเองได้ โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น ๔ ส่วนคือ - ร้อยละ ๓๐ ที่หนึ่งสำหรับปลูกข้าว - ร้อยละ ๓๐ ที่สองสำหรับปลูกพืชไร่ พืชสวน - ร้อยละ ๓๐ ที่สามสำหรับขุดสระน้ำไว้ใช้ในการเกษตร รวมถึงเลี้ยงปลาไว้บริโภค - ร้อยละ ๑๐ สุดท้ายเป็นที่อยู่อาศัย พร้อมกับปลูกพืชสวนครัวในลักษณะแบบครบวงจร ซึ่งจะทำให้เกษตรกรมีกินตลอดทั้งปี

ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้

ป่าไม้เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่อำนวยประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมให้แก่มนุษยชาติ ควบคุมสภาพดินฟ้าอากาศให้อยู่ในสภาพปกติ รักษาต้นน้ำลำธาร พรรณพฤกษชาติและสัตว์ป่า อีกทั้งยังเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจป่าไม้เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่มนุษย์ได้บริโภคใช้สอย ประกอบอาชีพด้านการทำป่าไม้ เก็บของป่าการอุตสาหกรรม การผลิตไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่ใช้วัตถุดิบจากไม้และของป่า แต่สภาพปัจจุบันประชากรไทยมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงเป็นแรงผลักดันให้เกิดการบุกรุกทำลายป่าไม้ เพื่อบุกเบิกพื้นที่ทำกิน ลักลอบตัดไม้ป้อนโรงงานอุตสาหกรรมและเผาถ่าน อีกทั้งมีการก่อสร้างถนน สร้างเขื่อนทำให้มีการตัดไม้โดยไม่คำนึงถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ป่าไม้จึงมีเนื้อที่ลดลงตามลำดับ และบางแห่งอยู่ในสภาพเสื่อมโทรมเป็นอย่างมาก
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเล็งเห็นความสำคัญของป่าไม้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเกิดปัญหาฝนแล้ง น้ำท่วม ดังที่ประเทศไทยประสบอยู่ในขณะนี้ สาเหตุสำคัญมาจากการทำลายป่า ด้วยเหตุนี้จึงมีพระราชหฤทัยมุ่งมั่นที่จะแก้ไข ปรับปรุงและพัฒนาป่าไม้ให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ดังเดิม ก่อให้เกิดโครงการพัฒนาและบำรุงป่าไม้จำนวนมากมายทั่วประเทศ โดยเฉพาะป่าไม้ที่เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารให้คงสภาพอยู่เช่นเดิม เพื่อป้องกันอุทกภัยต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น ในขณะเดียวกันช่วยถนอมน้ำไว้สำหรับหล่อเลี้ยงแม่น้ำลำธารด้วย สำหรับวิธีการปลูกป่าอันเนื่องมาจากพระราชดำริมีหลายวิธี ดังเช่น
การปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก ที่ได้ดำเนินการในโครงการพัฒนาพื้นที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้มอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดราชบุรี เป็นแนวพระราชดำริเกี่ยวกับการฟื้นฟูสภาพป่าด้วยวัฏจักรธรรมชาติ โดยมีวิธีการที่เรียบง่ายและประหยัดในการดำเนินงาน ตลอดจนส่งเสริมระบบวงจรป่าไม้ในลักษณะธรรมชาติดั้งเดิม ซึ่งมี ๓ วิธีคือ
“...ถ้าเลือกได้ที่ที่เหมาะสมแล้ว ก็ทิ้งป่านั้นไว้ตรงนั้นไม่ต้องไปทำอะไรเลย ป่าจะเจริญเติบโตขึ้นมาเป็นป่าสมบูรณ์โดยไม่ต้องไปปลูกเลยสักต้นเดียว...”
“...ไม่ไปรังแกป่าหรือตอแยต้นไม้ เพียงแต่คุ้มครองให้ขึ้นเองได้เท่านั้น...”
“...ในสภาพป่าเต็งรัง ป่าเสื่อมโทรมไม่ต้องทำอะไรเพราะตอไม้ก็จะแตกกิ่งออกมาอีก ถึงแม้ต้นไม้ไม่สวยแต่ก็เป็นต้นไม้ใหญ่ได้...” ป่า ๓ อย่าง ประโยชน์ ๔ อย่าง ที่ได้ดำเนินการในศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี และศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงใหม่
“...เดี๋ยวนี้ทุกคนก็คงเข้าใจแล้วว่าป่า ๓ อย่างนั้นคืออะไร แต่ก็ให้เข้าใจว่าป่า ๓ อย่างนี้มีประโยชน์ ๔ อย่าง ประโยชน์ที่ ๔ นี้สำคัญคือ รักษาอนุรักษ์ดินเป็นต้นน้ำลำธาร...”
การปลูกป่า ๓ อย่าง คือ ป่าสำหรับไม้ใช้สอยป่าสำหรับเป็นไม้ผล และป่าสำหรับเป็นเชื้อเพลิงซึ่งราษฎรสามารถใช้ประโยชน์จากป่าได้อย่างเกื้อกูล นอกจากนี้ยังได้ประโยชน์อย่างที่ ๔ อันเป็นการอนุรักษ์ดินและน้ำอีกด้วย
ป่าชายเลน เป็นแนวพระราชดำริในการอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศน์ของพื้นที่ชายฝั่งทะเลและอ่าวไทยซึ่งถูกบุกรุกทำลาย โดยการปลูกป่าไม้ชายเลน โดยอาศัยระบบน้ำขึ้นน้ำลงในการเติบโต อันเป็นแนวป้องกันลมและป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งที่สำคัญและเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำซึ่งเป็นการช่วยสร้างความสมดุลให้แก่ธรรมชาติให้กลับคืนสู่ความอุดมสมบูรณ์ดังเดิม



วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2550

คำถามและคำตอบท้ายหน่วยการเรียนที่ 4
ข้อที่ 1 คำว่า Communis แปลว่า..คล้ายคลึง หรือร่วมกัน
ข้อที่ 2 การสื่อความหมาย หมายถึง..กระบวนการส่งหรือถ่ายทอดความรู้ เนื้อหาสาระ ข่าวสาร ความรู้สึกนึกคิด ทัศนคติ ค่านิยม ทักษะ ตลอดจนประสบการณ์ จากบุคคลหนึ่งซึ่งเรียกว่า“ผู้ส่ง” ไปยังบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเรียกว่า “ผู้รับ”
ข้อที่ 3 Sender Message Channel Receiver
ข้อที่ 4 สาร หมายถึง เนื้อหา สาระ ความรู้สึก ทัศนคติ ทักษะ ประสบการณ์ ที่มีอยู่ในตัวผู้ส่ง หรือแหล่งกำเนิด
ข้อที่ 5 Elements หมายถึง องค์ประกอบย่อย ๆ พื้นฐานที่จำเป็นต้องมี ตัวอย่าง เช่น สระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ หรือสีแดง สีเหลือง เส้น เป็นต้น
ข้อที่ 6 Structure หมายถึง โครงสร้างที่เกิดจากการนำเอาองค์ประกอบย่อย ๆ มารวมกันเป็นโครงสร้างภาพรวม ตัวอย่าง เช่น คำ ประโยค หรือสีสันของรูปร่าง รูปทรง ฯลฯ ถ้าเปลี่ยนตำแหน่งองค์ประกอบโครงสร้างจะเปลี่ยนด้วย เช่น มาก " กาม, ยาก"กาย เป็นต้น
ข้อที่ 7 Content หมายถึง ข้อมูลที่เป็นความรู้สึกนึกคิดความต้องการของผู้ส่ง ข้อมูลนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร สอดคล้องเหมาะสมกับอะไร จะวางแผนการเข้ารหัสและจัดส่งอย่างไร แต่ละแนวทางอาจได้ผลที่แตกต่างกันตัวอย่าง เช่น โฆษณาขายรถแทรกเตอร์ เข้ารหัสโดยใช้รูปภาพและตัวอักษร จัดส่งทางอินเทอร์เน็ต นิตยสาร
ข้อที่ 8 Treatment หมายถึง วิธีการเลือก การจัดรหัสและเนื้อหาให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถถ่ายทอดความต้องการของผู้ส่งสารไปยังผู้รับสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งผู้ส่งสารแต่ละคนจะมีวิธีการหรือเทคนิคเฉพาะตัว บางที่เรียกว่า Style ในการสื่อความหมายตัวอย่าง เช่น การโฆษณาสินค้า ออกแบบให้ชวนมองชวนอ่าน การใช้ตัวอักษรที่เด่นสะดุดตา ใช้เสียงดังๆ เพื่อดึงดูดความสนใจ โดยอาจจะใช้แรงจูงใจ สิ่งเร้าในรูปแบบต่างๆกันเพื่อช่วยให้มีการรับรู้ได้ดียิ่งขึ้น
ข้อที่ 9 Code หมายถึง กลุ่มสัญลักษณ์ที่ถูกนำมาจัดแทนความรู้สึกนึกคิด ความต้องการ ผู้ส่งสารจำเป็นต้องตัดสินใจว่าจะใช้รหัสแบบใดจึงจะบรรลุเป้าหมายได้ดีที่สุดตัวอย่าง เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน ดนตรี ภาพวาด กิริยาท่าทาง
ข้อที่10 อุปสรรคหรือสิ่งรบกวยภายนอก เช่น เสียงดัง รบกวน อากาศร้อน กลิ่นไม่พึงประสงค์ แสงแดด ฝนสาด ฯลฯ
ข้อที่11 อุปสรรคหรือสิ่งรบกวยภายใน เช่น ความเครียด อารมณ์ขุ่นมัว อาการเจ็บป่วย ความวิตกกังวล
ข้อที่12 Encode หมายถึง การเข้ารหัส หรือแปลความต้องการของตนให้เป็นสัญลักษณ์หรือสัญญาณต่าง ๆ ได้ เพื่อที่จะนำไปสื่อความหมายให้ผู้อื่นรับรู้
ข้อที่13 Decode หมายถึง การถอดรหัสหรือการแปลความหมายของสื่อที่ผู้ส่งนำมาให้ เพื่อที่จะได้รับรู้ว่า ผู้ส่งต้องการให้ผู้รับได้รับรู้ในเรื่องอะไร
ข้อที่14 จงอธิบายการสื่อความหมายในการเรียนการสอนมาให้ครบถ้วนและถูกต้องกระบวนการเรียนการสอนเป็นกระบวนการสื่อความหมายอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีองค์ประกอบดังนี้ครู เนื้อหาหลักสูตร สื่อหรือช่องทาง นักเรียน(Source) (Message) (Channel) (Receiver)ผลย้อนกลับ
1. ครูในฐานะที่เป็นผู้ส่ง (Source) และกำหนดจุดมุ่งหมายของระบบการสอน ครูจึงควรมีพฤติกรรม ดังนี้
1.1 ต้องมีความเข้าใจในเนื้อหาที่จะสอนเป็นอย่างดี
1.2 มีความสามารถในการสื่อความหมาย เช่น การพูด การเขียน ลีลา ท่าทาง ฯลฯ
1.3 ต้องจัดบรรยากาศในการเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้
1.4 ต้องวางแผนจัดระบบถ่ายทอดความรู้ให้เหมาะสมกับเนื้อหาและผู้เรียน
2. เนื้อหา, หลักสูตร (Message) ตลอดจนทัศนคติ ทักษะ และประสบการณ์เป็นสิ่งสำคัญที่ครู จะถ่ายทอดไปสู่ผู้เรียน ดังนั้นเนื้อหาควรมีลักษณะดังนี้
2.1 เหมาะสมกับเพศและวัยของผู้เรียน
2.2 สอดคล้องกับเทคนิค วิธีสอน หรือสื่อต่าง ๆ
2.3 เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับกาลเวลา ควรปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ
3. สื่อหรือช่องทาง (Channel) เป็นตัวกลางหรือพาหะที่จะนำเนื้อหาจากครูผู้สอนเข้าไปสู่ภายในของผู้เรียน ลักษณะของสื่อควรเป็น ดังนี้
3.1 มีศักยภาพเหมาะสมกับธรรมชาติของเนื้อหา
3.2 สอดคล้องกับธรรมชาติของประสาทสัมผัสแต่ละช่องทาง
3.3 เด่น สะดุดตา ดูง่าย สื่อความหมายได้ดี
4. นักเรียนหรือผู้เรียน (Receiver) เป็นเป้าหมายหลักของกระบวนการเรียนการสอนที่จะทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เรียนจึงควรมีลักษณะ ดังนี้
4.1 มีความสมบูรณ์ทางด้านร่างกาย โดยเฉพาะประสาทสัมผัสทั้ง 5
4.2 มีความพร้อมทางด้านจิตใจ อารมณ์มั่นคงปกติ
4.3 มีทักษะในการสื่อความหมาย
4.4 มีเจตคติต่อครูผู้สอนและเนื้อหาวิชา
ข้อที่15 จงอธิบายถึงความล้มเหลวของการสื่อความหมายในการเรียนการสอนกระบวนการเรียนการสอนมักจะประสบความล้มเหลวบ่อย ๆ เนื่องจากอุปสรรคหลายประการ ดังนี้
1. ครูผู้สอนไม่บอกวัตถุประสงค์ในการเรียนให้ผู้เรียนทราบก่อนลงมือสอน ทำให้ผู้เรียนขาดเป้าหมายในการเรียน
2. ครูผู้สอนไม่คำนึงถึงข้อจำกัดและขีดความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน จึงมักใช้วิธีสอนแบบเดียวกันทุกคน
3. ครูผู้สอนไม่สนใจที่จะจัดบรรยากาศ ขจัดอุปสรรคและสร้างความพร้อมให้แก่ผู้เรียนก่อนลงมือสอน
4. ครูผู้สอนบางคนใช้คำยาก ทำให้ผู้เรียนไม่เข้าใจความหมายของคำ และเนื้อหาโดยรวม
5. ครูผู้สอนมักนำเสนอเนื้อหาวกวน สับสน รวดเร็ว ไม่สัมพันธ์ต่อเนื่อง กระโดดไปมาทำให้เข้าใจยาก
6. ครูผู้สอนไม่สนใจที่จะใช้สื่อการสอนหรือเลือกใช้สื่อการสอนไม่เหมาะสมกับเนื้อหา และระดับของผู้เรียนดังนั้นในกระบวนการเรียนการสอนจึงควรคำนึงถึงอุปสรรคต่างๆ และพยายามขจัดให้หมดไป เพื่อให้ผู้เรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
กิจกรรมท้ายหน่วยการเรียนที่ 1
ข้อที่ 1. เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง การนำเอาความรู้ แนวคิด กระบวนการ และผลผลิตทางวิทยาศาสตร์ ทั้งที่คิดขึ้นหรือกระทำขึ้นมาใหม่ หรือดัดแปลงจากที่เคยมีมาก่อนแล้วนำมาใช้รวมกันอย่างมีระบบ เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาการศึกษาให้ก้าวหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อที่ 2. เทคโนโลยีและนวัตกรรมในด้านต่างๆ เทคโนโลยีและนวัตกรรมถูกนำมาใช้ในงานสาขาต่างๆเช่นเทคโนโลยีทางการทหาร ( Military Technology )เทคโนโลยีทางการแพทย์ ( Medical Technology )เทคโนโลยีทางการเกษตร ( Agricultural Technology )เทคโนโลยีทางการสื่อสาร ( Communication Technology )เทคโนโลยีทางการค้า ( Commercial Technology )เทคโนโลยีทางวิศวกรรม ( Engineering Technology )เทคโนโลยีทางการตลาดสังคม ( Social Marketing Technology )เทคโนโลยีทางการศึกษา ( Educational Technology )
ข้อที่ 3. เทคโนโลยีทางการศึกษา จำแนกเป็น 2 ทัศนะ คือ- เทคโนโลยีทางการศึกษาตามทัศนะทางวิทยาศาสตร์กายภาพเป็นการนำเอาเครื่องมือ วัสดุและอุปกรณ์ หรือผลิตผลทางวิศวกรรมมาช่วยในกระบวนการเรียนการสอน ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายได้ง่ายขึ้น จึงเรียกว่าเทคโนโลยีทางเครื่องมือ ( Tool Technology )- เทคโนโลยีทางการศึกษาตามทัศนะทางพฤติกรรมศาสตร์ ( Behavioral science concept)เป็นการนำเอาความรู้ในด้านต่างๆเช่น ภาษาหรือการสื่อความหมาย มานุษยวิทยา จิตวิทยา การบริหาร มาใช้ควบคู่กับผลิตผลทางวิทยาศาสตร์หรือวัสดุอุปกรณ์ เพื่อให้ผู้เรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนรู้ให้ก้าวหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อที่ 4. ความหมายของการศึกษา การศึกษา มีความหมายแตกต่างกันตามความเข้าใจของบุคคลแต่ละระดับดังนี้
1. บุคคลธรรมดาสามัญการศึกษา เป็นการเล่าเรียนฝึกฝนและอบรม ( ราชบัญฑิตยสถาน, 2529 : 108)
2. บุคคลในวิชาชีพทางการศึกษาการศึกษา เป็นศิลปะการถ่ายทอดความรู้จากอดีต ซึ่งรวบรวมไว้เป็นหมวดหมู่อย่างมีระบบ เพื่อให้บุคคลรุ่นหลังเข้าใจและนำไปปฏิบัติ ( Good. 1959 : 191 )
3. บุคคลที่เป็นนักการศึกษา สามารถจำแนกได้ 2 ทัศนะคือ
3.1 ทัศนะแนวสังคมนิยม เช่นพลาโต ( Plato) กล่าวว่า การศึกษา คือ เครื่องมือที่ผู้ปกครองประเทศใช้ในการเปลี่ยนแปลงนิสัยมนุษย์ เพื่อก่อให้เกิดรัฐที่มีความสมานสามัคคี เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ( ภิญโญ สาธร. 2522 : 13 )
3.2 ทัศนะแนวเสรีนิยม เช่นการศึกษา คือ การทำลายสัญชาตญาณสัตว์ การศึกษาเพื่อยกจิตใจของมนุษย์ และเสนอว่า การศึกษาเป็นไปเพื่อธรรมาธิปไตยมิใช่ประชาธิปไตย ( พุทธทาสภิกขุ. 2516 : 7 )ความหมายของการศึกษาที่ผสมผสานระหว่างแนวสังคมนิยม และแนวเสรีนิยม น่าจะได้แก่พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 พระองค์ตรัสว่า การให้การศึกษานั้นกล่าวโดยย่อได้แก่ การช่วยเหลือบุคคลให้ค้นพบวิธีดำเนินชีวิตในทางที่ชอบและเหมาะแก่อัตภาพของตน ( วีระ บุณยะกาญจน. 2532 : 5 )

ข้อที่ 5. ระดับของเทคโนโลยีการศึกษา แบ่งได้ 3 ระดับ ได้แก่
1. ระดับอุปกรณ์การสอนเป็นการใช้เทคโนโลยีในระดับ เครื่องช่วยการสอนของครู ( Teacher”s Aid ) เป็นการเร้าความสนใจของนักเรียน ขยายความเข้าใจให้แจ่มแจ้ง ให้ผู้เรียนได้รับการสัมผัสหลายๆทาง เช่น การใช้ภาพ ใช้เสียงจากเสียงจริง หรือใช้วัสดุจำลอง เป็นต้น การใช้เทคโนโลยีระดับนี้จะต้องใช้ควบคู่ไปกับการสอนของครูตลอดเวลาจึงจะดี
2. ระดับวิธีสอนเป็นการใช้เทคโนโลยีแทนการสอนของครูด้วยตัวเอง โดยผู้สอนไม่จำเป็นจะต้องอยู่ในสถานที่แห่งเดียวกับผู้เรียนเสมอไป เช่น การสอนทางไกลโดยวิทยุ โทรทัศน์ หรือเอกสารทางไปรษณีย์ มีผลดีในด้านการจัดกิจกรรม การใช้เครื่องมือ การสร้างบรรยากาศชวนสนใจ แต่มีข้อเสียคือ ไม่มีความผูกพันระหว่างครูกับผู้เรียน
3. ระดับการจัดระบบการศึกษาเป็นการใช้เทคโนโลยีการศึกษาระดับกว้าง สามารถจัดระบบการศึกษาตอบสนองผู้เรียนได้จำนวนมาก เช่น ระบบการสอนทางไกลของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เทคโนโลยีระดับนี้มีองค์ประกอบที่สำคัญ เช่น งานบริหารการศึกษา งานพัฒนาการศึกษา สื่อการศึกษา เป็นต้น นับเป็นพื้นฐานในการจัดการ
ศึกษานอกระบบโรงเรียนในปัจจุบัน ( วีระ บุณยะกาญจน. 2532 : 23 )
ข้อที่ 6. ข้อแตกต่างและความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีและนวัตกรรม
เทคโนโลยีและนวัตกรรม เป็นความคิดและการกระทำใหม่ทั้งหมดหรือปรับปรุงดัดแปลงจากที่เคยมีมาก่อน มีการพิสูจน์ด้วยการวิจัย และเมื่อนำมาใช้หรือปฏิบัติแล้วสามารถช่วยให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น เพียงแต่นวัตกรรมยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบัน ส่วนเทคโนโลยี คือนวัตกรรมที่ถูกนำมาใช้จนถือกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบันนั่นเอง
ข้อที่ 7. ขั้นตอนในการกำเนิดนวัตกรรม
1. ขั้นประดิษฐ์คิดค้น ( Invention ) 2. ขั้นการพัฒนา ( Development ) หรือขั้นทดลอง ( Pilot Project )
3. ขั้นการนำไปใช้หรือปฏิบัติจริง ( Innovation)

ข้อที่ 8. บทบาทของเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษากับการจัดการเรียนการสอน
การจัดการเรียนการสอน เป็นระบบงานย่อยที่สำคัญระบบหนึ่งในทางการศึกษา ซึ่งส่งผลโดยตรงกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ กล่าวคือ การจัดการเรียนการสอนเกี่ยวข้องกับระบบการถ่ายทอดความรู้หรือประสบการณ์ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษาจึงมีความสำคัญต่อการจัดการเรียนการสอนดังนี้
1. ช่วยให้ผู้เรียนได้กว้างขวางมากขึ้น ได้เห็นหรือได้สัมผัสกับสิ่งที่เรียนและเข้าใจได้อย่างสมบูรณ์ และยังทำให้ผู้สอนมีเวลาแก้ผู้เรียนมากขึ้น
2. สามาสนองเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล ผู้เรียนมีอิสระในการแสวงหาความรู้ มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมมากขึ้น ผู้เรียนได้เรียนตามความสามารถ ตามความสนใจและความต้องการของแต่ละบุคคล
3. ให้การจัดการศึกษาดีขึ้น มีการค้นคว้าวิจัย ทดลอง ค้นพบวิธีการใหม่ๆ ตามสภาพความเปลี่ยนแปลง
4. มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาสื่อการสอน ให้มีคุณค่าและสะดวกต่อการใช้มากขึ้น
5. ทำให้การเรียนรู้ไม่เน้นเฉพาะด้านความรู้เพียงอย่างเดียว แต่เน้นด้านทัศนะคติหรือ เจตคติและทักษะแก่ผู้เรียนด้วย เช่น การเรียนผ่านทางโทรทัศน์ ภาพยนตร์ สไลด์ ชุดการสอน กระบวนการกลุ่มเป็นต้น6. ช่วยเพิ่มโอกาสทางการศึกษาของผู้เรียนให้มากขึ้น เช่น การจัดการศึกษานอกระบบการจัดการศึกษาพิเศษ การจัดการศึกษาซ่อมเสริมผ่านทางระบบการสอนต่างๆ เช่น การเรียนผ่านสื่อมวลชน ชุดการสอน บทเรียนสำเร็จรูป

ข้อที่ 9. ตัวอย่างนวัตกรรมการศึกษา - ศูนย์การเรียน - การสอนแบบโปรแกรม- บทเรียนสำเร็จรูป - ชุดการเรียนการสอน- การเรียนการสอนระบบเปิด - การสอนเป็นคณะ- การจัดโรงเรียนไม่แบ่งชั้น - การจัดโรงเรียนในโรงเรียน- การเรียนการสอนทางไกล - เรียนปนเล่น- คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ( CAI ) - การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียนการสอน- แบบฝึกหัดปฏิบัติเฉพาะกิจ
ข้อที่ 10. สาเหตุที่นำเอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ทางการศึกษา กระบวนการให้การศึกษาในปัจจุบันได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงต่างๆ พอสรุปได้ 3 ประการ คือ
1. การเพิ่มจำนวนประชากร การเพิ่มจำนวนประชากรเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาด้านต่างๆ เช่น การขาดแคลนอาหาร ที่อยู่อาศัย สถานที่ศึกษา ครู สื่อการสอน เป็นต้น ทำให้การศึกษาเป็นไปไม่ทั่วถึง หากรัฐบาลจะสร้างอาคารเรียนให้พอเพียง พร้อมทั้งผลิตและส่งครูไปทำการสอนในโรงเรียนอย่างทั่งถึงเป็นสิ่งที่กระทำได้ยากและต้องใช้งบประมาณมหาศาล นักศึกษาได้เสนอแนวทางที่เป็นไปได้ในการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีมาเป็นส่วนส่งเสริมคุณภาพของการศึกษา เช่น โทรทัศน์การสอน ( Instructional T.V.) บทเรียนสำเร็จรูป (Programmed Textbook) ชุดการสอน (Instruction Packages) เป็นต้น
2. การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมเป็นปัญหาที่ต่อเนื่องจากประชากรเพิ่มโดยตรง ทำให้สภาพเศรษฐกิจและสังคมเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การต่อสู้ดิ้นรน การแข่งขันสูงขึ้น การศึกษาจำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงให้ทันกับเหตุการณ์อยู่เสมอ เพื่อให้ผู้ที่ได้รับการศึกษาสามารถดำเนินชีวิตอยู่ได้ในสังคมอย่างมีความสุขและก้าวหน้าต่อไป การนำเอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้จะช่วยสนับสนุนคำกล่าวที่ว่า “การศึกษาเป็นสิ่งผูกพันกับชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย” ดังนั้นการให้การศึกษาตลอดชีวิต (Longlife Education) แก่ประชาชนจึงเป็นไปในรูปของการศึกษานอกระบบ (Infomal Education) มหาวิทยาลัยเปิด (Open University) โดยอาศัยสื่อมวลชนเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ไปสู่ผู้เรียนที่อยู่ห่างไกลให้มีโอกาสได้รับการศึกษาตลอดไป
3. ความก้าวหน้าทางวิทยาการใหม่ๆ การศึกษาค้นคว้าเพื่อหาวิธีแก้ปัญหาที่เป็นผลกระทบมาจากการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจและสังคม ทำให้พบวิทยาการใหม่ๆ หลากหลาย ด้านการศึกษาจำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงหลักสูตร เนื้อหา และวิธีการสอน เพื่อให้ทันกับเครื่องมือและวิธีการที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เช่น การสอนที่เคยเน้นการท่องจำ ต้องปรับปรุงให้รู้จักคิด เน้นกระบวนการ (Process Learning) ดังนั้น จึงนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในรูปของการสอนแบบสืบสวนสอบสวน (Inauily Method) เป็นต้น การศึกษาค้นคว้าทางจิตวิทยาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางการศึกษาหรือกระบวนการเรียนการสอน โดยยึดทฤษฎีต่างๆ เป็นหลัก เช่น การรับรู้ (Perception) การเรียนรู้ (Learning) แรงกระตุ้น (Motivation) การเสริมแรง (Reinforcement) นอกจากนี้ยังคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล เป็นสำคัญด้วย

ข้อที่ 11. แนวคิดในการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษากับการศึกษาไทย ปัญหาและสภาพการศึกษาไทยในอดีตย่อมย่อมได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงดังที่กล่าวมาแล้ว ทำให้การศึกษาไทยได้รับการปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่สมบูรณ์และมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะปัญหาด้อยคุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษาซึ่งพอประมวลได้ 3 ประการ คือ
1. คนไทยส่วนใหญ่ไม่นับถือตนเอง
2. คนไทยส่วนใหญ่ไม่เห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อม
3. คนไทยส่วนใหญ่ขาดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามลักษณะสังคมไทยการไม่นับถือตนเองคนไทยส่วนใหญ่ขาดความเชื่อมั่นและไม่นับถือตนเอง ในภาพการเรียนการสอนที่ครูเป็นศูนย์กลาง ครูไม่สามารถเอาใจใส่ผู้เรียนได้อย่างทั่วถึง ผู้เรียนบางคนไม่มีโอกาสตอบคำถามครูเลย ผู้เรียนส่วนใหญ่ต้องออกจากโรงเรียนเมื่อจบชั้นเรียนภาคบังคับและไม่มีโอกาสเรียนต่อ ทำให้ผู้เรียนเกิดปมด้อย ขาดความเชื่อมั่น การจัดการศึกษาควรให้ผู้เรียนได้เป็นศูนย์กลาง และทำงานที่เป็นผลสำเร็จด้วยตนเอง และได้รับคำชมเชยจากเพื่อนๆ ครูและผู้อื่นการไม่เห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อมในอดีตหลักสูตรบรรจุเนื้อหาและประสบการณ์ที่ไม่เอื้อต่อผู้เรียนในส่วนภูมิภาคต่างๆ ของประเทศ การจัดการศึกษาควรตอบสนองความต้องการของคนแต่ละภาคเพื่อให้เขาได้ชื่นชมกับสิ่งแวดล้อมอันได้แก่ วัฒนธรรมต่างๆ รู้จักปรับปรุงความเป็นอยู่ การกิน การเพาะปลูก อุตสาหกรรม เกษตรกรรม และรักถิ่นฐานของตนเอง ไม่พากันหลั่งไหลเข้ามาแต่ในเมืองหลวง การไม่เห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อมของคนไทยนั้น รวมถึงการไม่ยอมรับความสามารถของคนไทยด้วยกันเองอีกด้วยการขาดลักษณะที่พึงประสงค์
1. การจัดห้องเรียนและระบบการสอนแบบครูเป็นศูนย์กลาง ซึ่งบทบาทของครูเป็นผู้พูดตลอดเวลา ผู้เรียนจึงไม่มีโอกาสฝึกพูดและแสดงความคิดเห็น ปรากฏว่าเมื่อเติบโตขึ้นผู้เรียนไม่กล้าแสดงความคิดเห็น บางคนกล้าแต่ไม่รู้จักแสดงความคิดเห็น การกล้าและรู้จักแสดงความคิดเห็นต้องได้รับฝึกฝนมาตั่งแต่เด็ก
2. การตัดสินใจด้วยตนเองก็เช่นกันควรฝึกตั้งแต่ภายในครอบครัว และโรงเรียนด้วย
3. การรู้จักทำงานร่วมกันเป็นหมู่ ทางผู้เรียนมักเกิดปัญหา เนื่องจากครูมักเร่งกรอกความรู้ให้แก่ผู้เรียนอย่างเร่งรีบเพื่อให้ทันตามหลักสูตรจนไม่มีโอกาสได้ฝึกการทำงานร่วมกันของผู้เรียน ผลจึงปรากฏว่าส่วนใหญ่คนไทยมักไม่ค่อยประสบความสำเร็จในการทำงานร่วมกัน
4. การสอนแบบพูดอย่างเดียวผู้เรียนมีหน้าที่เรียนและฟัง จะทำให้ผู้เรียนไม่มีโอกาสได้ฝึกตนเองในการแสวงหาความรู้หรือทำงานเป็นอิสระด้วยตนเอง ผลที่ปรากฏส่วนใหญ่ผู้สำเร็จการศึกษาไปแล้วจะไม่ติดนิสัยรักการอ่านหนังสือ ทำให้ลืมหนังสือในที่สุด
5. ประการสุดท้ายในเรื่องการรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ระบบการศึกษา แบบเดิมมักจะ “สอน”แต่ไม่มีการ “ฝึก” การเป็นพลเมืองดี มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่จังขาดความรับผิดชอบทั้งต่อตนเองและสังคมการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาเข้ามาช่วยเป็นการเปิดโอกาสให้เรียนได้สร้างความเชื่อมั่นและนับถือตนเอง เห็นคุณค่า และสามารถนำสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นของตนมาใช้เพื่อการดำเนินชีวิตที่สมบูรณ์และฝึกฝนคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่ 5 ประการดังกล่าว

12. จงยกตัวอย่างและแนวทางแก้ไขของการมีลักษณะที่ไม่พึงประสงค์
1. กล้าและรู้จักแสดงความคิดเห็น ครูควรจัดห้องเรียนและระบบการสอนแบบนักเรียนเป็นศูนย์กลาง เปิดโอกาสให้นักเรียนคิดเองทำเอง โดยครูมีหน้าที่เป็นที่ปรึกษา หรืออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เรียนเท่านั้น การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอน เช่น การใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยในการสอน การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน รูปแบบการสอนที่นักเรียนได้มีส่วนร่วม การอภิปราย บทบาทสมมติ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะทำให้ผู้เรียนมีความกล้าและรู้จักแสดงความคิดเห็นมากขึ้น
2. การตัดสินใจด้วยตนเอง ควรฝึกให้ผู้เรียนรูจักและตัดสินใจด้วยตนเองตั้งแต่ภายในครอบครัวและโรงเรียนด้วย ครูผู้สอนจะต้องร่วมมือกับทางครอบครัวของผู้เรียน ให้ครอบครัวสอนแนะนำให้ผู้เรียนรู้จักคิดเองตัดสินใจด้วยตนเองก่อน การตอบคำถามหรือข้อสงสัยของเด็ก ไม่ควรตอบทันทีทันใด แต่ควรเป็นการชี้แนะ หรืออธิบานกว้างๆ ให้เด็กคิดตัดสินใจเองหากเด็ดตัดสินใจผิด จึงค่อยบอกกล่าวภายหลัง ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีควรมีการจัดการเรียนการสอนแบบต่างๆ ที่เป็นแนวทางให้เด็กรู้จักคิดและตัดสินใจด้วยตนเอง เช่น การสอนแบบสืบสวนสอบสวน เป็นต้นๆ
3. รู้จักทำงานร่วมกันเป็นหมู่อย่างมีประสิทธิภาพครูควรจัดการเรียนการสอนทั้งทฤษฎีและฝึกการทำงานร่วมกันไปด้วย การจัดชั้นเรียน การมอบหมายงาน การจัดกิจกรรมครูควรเน้น ที่ระบบการทำงานเป็นทีม ชี้แนะระบบการทำงานเป็นทีมให้ชัดเจน มีการจัดแบ่งการทำงานให้ครบกันทุกคนที่ทำงานด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการสอนแบบอ๓ปรายกลุ่ม การสอนเป็นคณะ หรือการจัดกิจกรรม ครูควรมีกระบวนการสอนที่ชัดเจน มีการวัดแบบประเมินผลที่ครอบคลุมและชัดเจนเช่นกัน เพื่อให้ผู้เรียนได้รู้ว่าถ้าหากไม่ร่วมกันทำงาน ไม่ช่วยกันร่วมในกิจกรรมแล้วงานจะไม่สำเร็จหรือคะแนนที่ได้มาจะน้อยลง
4. รู้จักแสวงหาความรู้เองการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษามาใช้จะช่วยให้ผู้เรียนรู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเองมากขึ้น ครูไม่ควรสอนแบบอธิบายอย่างเดียว ควรให้ผู้เรียนรู้จักค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองจากห้องสมุด การอ่านหนังสือ การค้นคว้าจากคอมพิวเตอร์หรืออินเทอร์เน็ต การส่งงานทาง E- mail เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะทำให้ผู้เรียนรักการอ่าน รู้จักค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง
5. มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมการเรียนการสอนจะต้องมีทั่งการให้ความรู้ทางวิชาการและฝึกปฏิบัติด้านคุณธรรมและจริธรรมแบบเรียน กระบวนการเรียนการสอนจะต้องปรับปรุง เพิ่มเติมด้านความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมให้มากกว่าเดิม การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในทางที่ดีและถูกต้อง ไม่ทำร้ายหรือให้โทษต่อผู้อื่นการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีต้องรู้จักรับผิดชอบด้วย ในการใช้งานถ้าใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้มีประโยชน์ต่อตนเองและสังคมแล้ว ยังจะเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมอย่างแท้จริง

ยินดีต้อนรับทุกท่าน

เชิญทุกท่าน.......เข้าชมเลยค่ะ